-
แผนการพัฒนาสามปี
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนพัฒนาตำบล/หมู่บ้าน
แผนอัตรากำลัง 3 ปี
ข้อบัญญัติงบประมาณ
แผนการดำเนินงาน
แผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
แผนบริหารความต่อเนื่องขององค์กร (BCP)
แผนปฏิบัติการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรมฯ
แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ข้อบัญญัติการบริหารกิจการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า
ข้อบัญญัติการติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร
ข้อบัญญัติการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขและแมว
ข้อบัญญัติตำบล เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2552
แผนการดำเนินงานประจำปี
แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน
แผนดำเนินงานประจำปี 2568
-
ข้อมูลรายรับ รายจ่าย
แสดงฐานะทางการเงิน
แผนการจัดหาพัสดุ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
แผนการจัดเก็บภาษี
ข่าวจัดซื้อ-จัดจ้าง
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
การใช้จ่ายเงินสะสมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
การใช้จ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
รายงานผลการตรวจสอบจาก สตง.
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
รายงานแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
-
รายงานกิจการสภา
รายงานการประชุมประจำเดือน
รายงานผลปฏิบัติงานประจำปี
รายงานการประเมินประสิทธิภาพของ อปท.(LPA)
สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริต
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานและการใช้งบประมาณ ประจำปี รอบ ๖ เดือน
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
รายงานผลการลดใช้พลังงานในหน่วยงาน
แบบประเมินพนักงานส่วนตำบล
รายงานการประชุมคณะกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด
แบบรายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปีงบประมาณ
-
ขั้นตอนการรับเรื่องราวร้องเรียนการทุจริต/ร้องทุกข์
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
ช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียน
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤมิชอบ
แจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริต
แสดงความคิดเห็นการดำเนินงานของหน่วยงาน
แบบประเมินความพึงพอใจการให้บริการของ อบต.หนองมะแซว
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตฯ
-
มาตรการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ
มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง
มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนฯ
มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
ITA
มาตรการป้องกันการรับสินบน No Gift Policy
มาตรการกลไกในการให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
มาตรการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตในประเด็นสินบน
คู่มือศูนย์รับข้อมูลข่าวสาร
1.ความเป็นมา พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 บัญญัติขึ้นเพื่อรองรับสิทธิของ ประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการตามอำนาจหน้าที่และภารกิจของหน่วยงานฯ นอกจากนี้ยังให้มีการเผยแพร่เพื่อให้ประชาชน สามารถใช้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐและเพื่อความโปร่งใส มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ซึ่งการให้บริการของศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว เป็นกระบวนการที่ช่วย สนับสนุนผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐ ต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยตามกฎหมายกำหนดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ กอปรกับได้มีประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐ โดยเรียกสถานที่จัดเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารและให้บริการว่า “ศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางราชการ” มีภารกิจในการให้คำแนะนำให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ โดยประชาชนที่มาขอรับบริการได้รับความสะดวก รวดเร็ว และได้รับข้อมูลถูกต้อง เป็นปัจจุบัน อีกทั่งรับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับหน่วยงานและเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานด้วย
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว เป็นหน่วยงานที่ต้องการตอบสนองความต้องการของประชาชน ให้มีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐ จึงได้มีประกาศให้จัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลข่าวสารขึ้น โดยให้บริการที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว หมู่ที่ 12 ตำบลหนองมะแซว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ 3700 และได้จัดทำคู่มือกระบวนการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในวิธีการขั้นตอน ในการปฏิบัติงานการให้บริการข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อให้บุคลากรของสำนักงานฯ สามารถให้บริการข้อมูลข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน มีความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน และสร้างความพึงพอใจในการรับบริการข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ
2.วัตถุประสงค์การจัดทำคู่มือ 2.1 เพื่อจัดเก็บข่าวสาร องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว เกณฑ์ข้อกำหนด รายละเอียดมาตรฐานของงาน ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2.2 เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การ ปฏิบัติงานเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้แก่เจ้าหน้าที่ไว้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน 2.3 เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการปฏิบัติงาน
3.ขอบเขต คู่มือฉบับนี้ใช้ประกอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว
4. คำจำกัดความ “ข้อมูลข่าวสาร” หมายความว่า สื่อที่มีความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือ สิ่งใดๆ ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้น จะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะได้ทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียงการบันทึก โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้ “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน “มาตรฐานความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ” คือ มาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐในด้านการบริหารจัดการที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการดำเนินการที่สามารถเปิดเผยและตรวจสอบได้ทั้งในเชิงข้อมูลและกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของ ผู้นั้นหรือมีเลขหมาย รหัส หรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือแผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคน หรือรูปถ่าย และให้ความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานรัฐย่อมจำกัดเฉพาะที่หน่วยงานของรัฐครอบครองหรือควบคุมไว้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เท่านั้น รวมไปถึงข้อมูลข่าวสารที่เจ้าหน้าที่ของรัฐในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้แก่หน่วยงานของรัฐครอบครองอยู่ด้วย
5. บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ 5.1 ดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ได้ดังนี้ 5.1.1 จัดสถานที่/จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบล หนองมะแซว สำหรับให้บริการข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 เพื่อประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบข้อมูลข่าวสารได้โดยสะดวก 5.1.2 มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบประจำศูนย์ข้อมูลข่าวสารหรือปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นการเฉพาะ 5.1.3 มีป้ายบอกถึงที่ตั้งของสถานที่หรือศูนย์ข้อมูลข่าวสารหรือปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นการเฉพาะไว้ ตั้งแต่บริเวณอาคาร และศูนย์ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว 5.1.4 มีป้ายบอกถึงที่ตั้งของสถานที่หรือศูนย์ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว 5.1.5 จัดระบบข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ตามมาตรา 7 พร้อมจัดทำดัชนีข้อมูลข่าวสารไว้บริการแก่ผู้มาติดต่อและขอรับบริการ 5.1.6 บริหารจัดการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างเป็นระบบ เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการ 5.2 จัดระบบข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ตามมาตรา 7 พร้อมจัดทำดัชนีข้อมูลข่าวสารไว้บริการแก่ผู้มาติดต่อและขอรับบริการ 5.3 บริหารจัดการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างเป็นระบบ เช่น แต่งตั้งคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว เก็บสถิติข้อมูลข่าวสาร ดำเนินการรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ 5.4 เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้แก่บุคลากรทราบ เช่น จัดอบรม สัมมนา ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการให้และรับบริการข้อมูลข่าวสาร ของราชการ เผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ บรรยายให้ความรู้ผู้เข้าเยี่ยมชม สำรวจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย สำรวจความพึงพอใจในการรับบริการศูนย์ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว 5.5 เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการประกวดราคา ประกาศสอบราคาที่ผู้บริหารลงนามแล้วเผยแพร่บนเว็บไซต์
6. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ 6.1 ข้อมูลข่าวสารที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซวรวบรวมขึ้น เพื่อให้บริการประชาชนตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ตามมาตรา 7 และมีสิทธิตรวจสอบดูได้ตามมาตรา 9 ประกอบด้วย
มาตรา 7 หน่วยงานขอรัฐต้องส่งข้อมูลของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ลงพิมพ์ในราช กิจจานุเบกษา (1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน (2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน (3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงาน ของรัฐ (4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบาย หรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง (5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อมูลข่าวสารใดที่ได้มีการจัดพิมพ์เพื่อให้แพร่หลายตามจำนวนพอสมควรแล้ว ถ้ามีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุกเบกษาโดยอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์นั้นก็ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติวรรคหนึ่งแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐรวบรวมและจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งไว้เผยแพร่เพื่อขายหรือจำหน่าย จ่ายแจก ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นตามที่เห็นสมควร
มาตรา 9 หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด (1) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว (2) นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุกเบกษา ตามมาตรา 7 (4) (3) แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายของปีที่กำลังดำเนินการ (4) คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน (5) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงตามมาตรา 7 วรรคสอง (6) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ (7) มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย (8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ได้แก่ การประกวดราคา ประกาศสอบราคา และสรุปผลการพิจารณาการจัดจ้างเป็นรายเดือน ทุกๆเดือน 6.2 นำระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารดำเนินการ 2 ระบบ คือ 6.2.1 ระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารด้วยระบบเอกสาร (แฟ้มข้อมูลข่าวสาร) ได้คัดแยกข้อมูลที่หน่วยงานต้องจัดเพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดู ตามมาตรา 9 ไว้บริการ โดยจัดทำดัชนีข้อมูลข่าวสาร ไว้ในรหัสแฟ้มข้อมูลข่าวสาร 6.2.2 ระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้นำระบบคอมพิวเตอร์ที่มี ระบบการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ มาพัฒนาเพื่อรองรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบล หนองมะแซว ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ได้แก่ 6.2.2.1 ระบบราชการกิจจานุเบกษา (กฎหมายเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซวและหน่วยงานในสังกัด) 6.2.2.2 ระบบมติคณะรัฐมนตรี 6.2.2.3 ระบบคาสั่ง ระเบียบ ประกาศ 6.2.2.4 ระบบข่าวองค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว 6.2.2.5 ระบบข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ 6.2.2.6 ระบบอินเตอร์เน็ตหรือระบบเว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว (มีข้อมูลขึ้นระบบ ประกอบด้วย การประกวดราคาและสอบราคาสรุปการจัดซื้อจัดจ้างฯ รายงานทางวิชาการระบบ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว โครงการ/แผนงานของหน่วยงาน สถานที่ติดต่องานเว็บไซต์ฯ เป็นต้น) 6.2.2.7 ระบบศูนย์ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว
7. ขั้นตอนและกำหนดระยะเวลาในการให้บริการข้อมูลข่าวสาร 7.1 ผู้มาขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารลงชื่อในสมุดทะเบียน 7.2 ผู้มาขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารสามารถตรวจดูค้นหาข้อมูลข่าวสารได้ด้วยตนเองหรือจะขอเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ช่วยแนะนำค้นหาให้ก็ได้ 7.3 หากผู้มาขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารประสงค์จะได้สำเนาหรือสำเนาข้อมูลข่าวสารที่มี คำรับรองความถูกต้องให้ยื่นคำร้องตามแบบฟอร์มที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซวกำหนด หรือเขียนขึ้นเอง โดยระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามสมควร 7.4 หากข้อมูลข่าวสารที่ประสงค์จะขอ ไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะส่งคำขอไปให้หน่วยงานที่ครอบครองดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นพิจารณาดำเนินการต่อไป 7.5 กำหนดระยะเวลาในการให้ข้อมูลข่าวสาร 7.5.1 การให้บริการสำเนาข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้ในศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ กำหนดระยะเวลาภายในวันทำการที่มีคำขอนั้น 7.5.2 การให้บริการสำเนาข้อมูลข่าวสารอื่นๆ ที่พร้อมจะให้ได้กำหนดระยะเวลาภายในวันทำการที่ขอหรือโดยเร็ว ทั้งนี้ไม่เกิน 15 วัน 7.5.3 ในกรณีที่ข้อมูลข่าวสารที่ขอมีจำนวนมากหรือไม่สามารถรวบรวมสำเนาให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซวจะแจ้งให้ผู้ขอทราบ ภายใน 15 วัน ว่าจะให้มารับข้อมูลข่าวสารได้ในวันที่เท่าใด
8. หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติงานและเงื่อนไข 8.1 หลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน 8.1.1 ความมุ่งหมายสำคัญของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 มุ่งโดยตรงต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับสิทธิการรับรู้ของประชาชน หรือมุ่งต่อการจัดการความรู้การพัฒนาเครือข่ายความรู้จากข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร โดยให้เก็บรักษาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของหน่วยงานและต้องจัดพิมพ์เผยแพร่ จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูหรือเปิดเผยเมื่อประชาชนร้องขอตามลำดับความสำคัญของข้อมูลข่าวสารบางประเภท ที่การเปิดเผยอาจกระทบความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่นได้และข้อมูลข่าวสารทั้งหลายเหล่านี้เมื่อมีอายุครบเวลาที่กฎหมายกำหนดหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ส่งมอบให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า 8.1.2 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2549 ที่เห็นควรให้นำเรื่องการจัดระบบและการดำเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหนึ่งในตัวชี้วัด (KPI) ประสิทธิภาพของหน่วยงานของรัฐทุกแห่งเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณพ.ศ.2540 เพื่อเป็นการสนับสนุนการบังคับใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 8.1.3 หน้าที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร 8.1.3.1 เตรียมข้อมูลเพื่อพร้อมในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่จัดทำไว้จัดระบบข้อมูลข่าสาร มาตรา 7 มาตรา 9 และมาตรา 11 จัดแยกประเภทข้อมูลข่าวสารเพื่อสะดวกรวดเร็วในการค้นหา 8.1.3.2 เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร คือ - จัดพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่กฎหมายกำหนด รวบรวมและจัดส่งข้อมูลข่าวสารของราชการตามมารา 7 เพื่อพิมพ์เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา หรือจัดพิมพ์เผยแพร่ตามจำนวนสมควรทันทีที่มีข้อมูลข่าวสาร 1) ดำเนินการรวบรวมข้อมูลข่าวสารสำคัญไว้ให้ประชาชนตรวจดู ตามมาตรา 9 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้ใช้อำนาจตามมาตรา 9 ออกประกาศเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2541 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนตรวจดู 2) จัดสถานที่สำหรับค้นหาและตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการตามประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร 3) จัดทำดัชนีข้อมูลข่าวสารให้เพียงพอ สำหรับบริการประชาชนเพื่อความสะดวกในการค้นหาด้วยตนเอง - จัดหาข้อมูลข่าวสารอื่นๆ ให้ผู้ขอในเวลาอันสมควร ตามมาตรา 11 ซึ่งหมายถึง หัวหน้าที่จัดหาข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้ว และผู้ขอข้อมูลข่าวสารได้ระบุลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควรและ ไม่ขอรวบรวม หรือจัดให้มีขึ้นใหม่ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะจัดให้หรือไม่ก็ได้ - จัดทำสำเนาและรับรองสำเนาถูกต้อง (มาตรา 9 และมาตรา 11) หน่วยงานของรัฐอาจวางหลักเกณฑ์เรียกค่าธรรมเนียมในการดำเนินการก็ได้ และต้องคำนึงถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ประกอบด้วย และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยได้มีประกาศเรื่อง ค่าธรรมเนียมไว้ว่าถ้าเรียกเก็บไม่เกินต้นทุนที่แท้จริงไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อนก็ได้ ค่าธรรมเนียมมี 3 ประเภท คือ (1) ค่าธรรมเนียมในการทำสาเนาและรับรองสำเนา (2) ค่าธรรมเนียมในการค้นหารวบรวมข้อมูลข่าวสาร (3) ค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบความถูกต้องและตัดทอนข้อมูลข่าวสารที่ไม่เปิดเผยหน่วยงาน - ให้คำแนะนำแก่ผู้ขอข้อมูลข่าวสารของราชการที่มิได้อยู่ในความดูและของหน่วยงาน โดยให้ติดต่อหน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นๆ (มาตรา 12) 8.1.3.3 หน้าที่พิจารณาสั่งเปิดเผยหรือมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ต้องพิจารณาก่อนว่าคำขอนั้นมีลักษณะชัดเจนชนิดที่อาจเข้าใจได้ตามสมควรหรือไม่ กรณีการสั่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ กฎหมายถือการมีคำสั่งเปิดเผยเป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ (มาตรา 15 วรรคสอง) ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาหรือศาลย่อมไม่มีอำนาจทบทวนหรือยกเลิกเพิกถอน คำสั่ง การสั่งเพิกถอนคำสั่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จึงมีได้เฉพาะกรณีผู้บังคับบัญชาหรือศาลเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น การสั่งมิให้เปิดเผยนั้นกฎหมายมิได้กำหนดว่าเป็นดุลพินิจโดยเฉพาะ ดังนั้นอาจพิจารณาทบทวนหรือยกเลิกเพิกถอนได้ ในกรณีหลังหน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารยังมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 วรรคแรก ที่ต้องแจ้งให้ผู้ขอรับรู้ข้อมูลข่าวสารทราบด้วยว่าอาจอุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผยนั้น ต่อคณะกรรมการการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น โดยยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (มาตรา 18) 8.1.3.4 แจ้งให้ผู้มีประโยชน์ได้เสียในการเปิดเผยข้อมูลข่าว คัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น ตามมาตรา 17 วรรคแรก 8.1.3.5 จัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลและรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล (มาตรา 23) ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล (มาตรา 24) แก้ไขและปรับปรุงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพื่อความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 25) 8.1.3.6 ส่งมอบข้อมูลข่าวสารให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลข่าวสารที่เป็นความลับของทางราชการ เมื่อครบ 25 ปี (มาตรา 15 และมาตรา 26 วรรคสอง) 8.1.3.7 ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้รับบริการศูนย์ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว
|
||
คู่มือศูนย์รับข้อมูลข่าวสาร |
-
แผนการพัฒนาสามปี
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนพัฒนาตำบล/หมู่บ้าน
แผนอัตรากำลัง 3 ปี
ข้อบัญญัติงบประมาณ
แผนการดำเนินงาน
แผนป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
แผนบริหารความต่อเนื่องขององค์กร (BCP)
แผนปฏิบัติการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรมฯ
แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ข้อบัญญัติการบริหารกิจการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า
ข้อบัญญัติการติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร
ข้อบัญญัติการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขและแมว
ข้อบัญญัติตำบล เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2552
แผนการดำเนินงานประจำปี
แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน
แผนดำเนินงานประจำปี 2568
-
ข้อมูลรายรับ รายจ่าย
แสดงฐานะทางการเงิน
แผนการจัดหาพัสดุ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
แผนการจัดเก็บภาษี
ข่าวจัดซื้อ-จัดจ้าง
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
การใช้จ่ายเงินสะสมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
การใช้จ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
รายงานผลการตรวจสอบจาก สตง.
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
รายงานแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
-
รายงานกิจการสภา
รายงานการประชุมประจำเดือน
รายงานผลปฏิบัติงานประจำปี
รายงานการประเมินประสิทธิภาพของ อปท.(LPA)
สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริต
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานและการใช้งบประมาณ ประจำปี รอบ ๖ เดือน
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
รายงานผลการลดใช้พลังงานในหน่วยงาน
แบบประเมินพนักงานส่วนตำบล
รายงานการประชุมคณะกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด
แบบรายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปีงบประมาณ
-
ขั้นตอนการรับเรื่องราวร้องเรียนการทุจริต/ร้องทุกข์
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
ช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียน
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤมิชอบ
แจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริต
แสดงความคิดเห็นการดำเนินงานของหน่วยงาน
แบบประเมินความพึงพอใจการให้บริการของ อบต.หนองมะแซว
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตฯ
-
มาตรการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ
มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง
มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนฯ
มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
ITA
มาตรการป้องกันการรับสินบน No Gift Policy
มาตรการกลไกในการให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
มาตรการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตในประเด็นสินบน